การจัดเรียงอนุภาคของแข็ง
การจัดเรียงอนุภาคในของแข็ง
ของแข็งที่เกิดจากการจัดเรียงอนุภาคอย่างมีระเบียบ มีรูปร่างเฉพาะตัวเรียกว่าผลึก ผลึกของของแข็งแต่ละชนิดจะมีผิวหน้าที่เรียบ ซึ่งทำมุมกันด้วยค่าที่แน่นอนและเป็นลักษณะเฉพาะตัว ผลึกที่มีขนาดใหญ่ เมื่อทำให้เล็กลง เช่น โดยการบด ส่วนเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นก็ยังคงรักษารูปผลึกแบบเดิมอยู่ โดยทั่วๆ ไปของแข็งชนิดเดียวกันจะมีการจัดเรียงตัวของอนุภาคเป็นแบบเดียวกัน ไม่ว่าของแข็งนั้นจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสังเคราะห์ขึ้น ผลึกของแข็งจะมีจุดหลอมเหลวคงที่ และมีช่วงของการหลอมเหลวสั้น คือเมื่อให้ความร้อนแก่ผลึกจนถึงอุณหภูมิค่าหนึ่ง (ที่จุดหลอมเหลว) ของแข็งจะเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวทันทีทำให้อ่านจุดหลอมเหลวได้แน่นอน ผลึกของแข็งชนิดเดียวกันอาจจะมีสมบัติบางอย่างต่างกัน เช่น ดัชนีหักเห การนำไฟฟ้า อาจจะแตกต่างกัน
การที่ของแข็งมีการจัดเรียงโมเลกุลที่ต่างกัน ทำให้เกิดผลึกที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลให้สมบัติทางกายภาพ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว และความหนาแน่นแตกต่างกัน
ในกรณีที่ของแข็งชนิดหนึ่งมีผลึกได้หลายแบบเรียกว่ามีรูป (Polymorphism)
ในกรณีของธาตุชนิดเดียวกัน แต่มีการจัดโครงสร้างของโมเลกุล หรือโครงสร้างผลึกต่างกัน ก็เรียกว่ารูป (Allotrope) เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น ผลึกกำมะถัน มี 2 รูป แต่ละรูปมีสมบัติทางกายภาพต่างกันคือ
ก. กำมะถันรอมบิก (Rhombic Sulfur) เป็นผลึกเหลี่ยมโปร่งใส สีเหลืองอ่อน มีความถ่วงจำเพาะ 2.06 หลอมเหลวที่ 112.8 0C ประมาณ (113 0C) ละลายได้ดีใน CS2 เบนซีน หรือน้ำมันสนที่ร้อน ๆ ไม่ละลายน้ำ มีความคงตัวที่อุณหภูมิปกติ (หรือต่ำกว่า 95.5 0C) ดังนั้นจึงเป็นรูปที่คงตัวที่สุดของกำมะถัน
กำมะถันรอมบิก เตรียมได้โดยนำกำมะถันมาบดให้เป็นผงแล้วนำไปละลายในCS2 กรอง หลังจากปล่อยให้ CS2 ระเหยไปจะได้ผลึกกำมะถันรอมบิกแยกออกมา
ข. กำมะถันโมโนคลินิก (Monoclinic Sulfur) ลักษณะเป็นผลึกโปร่งใส มีสีเหลืองเข้มกว่ากำมะถันรอมบิก เป็นของแข็งผลึกรูปเข็ม มีความถ่วงจำเพาะ 1.96 หลอมเหลวที่ 119 0C ละลายได้ดีใน CS2 แต่ไม่ละลายน้ำ กำมะถันโมโนคลินิกคงตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 96 0C ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะกลับไปเป็นกำมะถันรอมบิก ดังนั้นจึงอาจเตรียมกำมะถันรอมบิกได้จากกำมะถันโมโนคลินิกโดยการลดอุณหภูมิลงให้ต่ำกว่า 96 0C
กำมะถันโมโนคลินิก เตรียมได้โดยนำกำมะถันผงไปละลายในโทลูอีนร้อน ๆ จนได้สารละลายอิ่มตัว กรอง หลังจากทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ผลึกแยกออกมา
ทั้งกำมะถันรอมบิกและกำมะถันโมโนคลินิก ต่างก็มีสูตรโมเลกุลเป็น S8 เหมือนกัน แต่มีการจัดเรียงโมเลกุลต่างกัน
นอกจากกำมะถันรูปผลึกทั้ง 2 แบบแล้ว ยังมีกำมะถันที่ไม่มีรูปผลึกอีกหลายชนิด เช่น กำมะถันพลาสติก (plastic sulfur) กำมะถันขาว (white amorphous sulfur) และกำมะถันคอลลอยด์ (collidal sulfur)
นอกจากกำมะถันแล้ว ธาตุอื่น ๆ ก็มีรูปร่างและสมบัติต่างกันได้เช่น คาร์บอน ฟอสฟอรัส ออกซิเจน ดีบุก เป็นต้น
ตาราง สมบัติบางประการของรูปต่าง ๆ ของธาตุบางชนิด
ชื่อธาตุ
|
รูป
|
ลักษณะภายนอก
|
จุดหลอมเหลว
(0C)
|
จุดเดือด
(0C)
|
ความหนาแน่น
(g/cm3)
|
การนำไฟฟ้า
|
คาร์บอน
|
แกรไฟต์
เพชร
|
ของแข็งสีดำ
ของแข็งไม่มีสี
|
3652
สูงกว่า 3500
|
4827
-
|
2.25
3.51
|
นำ
|
ฟอสฟอรัส
|
ฟอสฟอรัส
(ขาวหรือเหลือง)
|
ของแข็งสีขาว
(หรือเหลือง)(เป็นพิษ)
|
44
|
280
|
1.82
|
ไม่นำ
|
ฟอสฟอรัสแดง
|
ของแข็งสีแดง
(ไม่เป็นพิษ)
|
590
|
445
|
2.34
|
ไม่นำ
| |
กำมะถัน
|
รอมบิก
โมโนคลินิก
|
ผลึกรูปเหลี่ยม
ผลึกรูปเข็ม
|
113
119
|
445
|
2.07
2.07
|
ไม่นำ
ไม่นำ
|
ออกซิเจน
|
ก๊าซ O2
ก๊าซ O3
|
ก๊าซไม่มีสี
ก๊าซไม่มีสีมีกลิ่นเฉพาะ
|
-219
-193
|
-183
-111
|
1.51*
1.61 *
|
ไม่นำ
ไม่นำ
|
ดีบุก
|
ดีบุกเทา
ดีบุกขาว
|
ผลึกแบบเพชร
ของแข็ง
|
ความถ่วงจำเพราะ 5.77 คงตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 13.2 0C
นำไฟฟ้าได้เล็กน้อยแบบกึ่งโลหะ
ความถ่วงจำเพาะ 7.28 คงตัวระหว่าง 13.2 - 161 0C
นำไฟฟ้าได้
|
* หมายถึง ความหนาแน่นในขณะที่เป็นของเหลว
ในกรณีที่เป็นของแข็งต่างชนิดกันแต่มีรูปผลึกเหมือนกันเรียกว่า ไอโซมอร์ฟิซึม(Isomorphism) เช่น NaCl , NaF , KCl , CaS , MgO ต่างก็มีรูปผลึกเหมือนกัน ในทำนองเดียวกัน CaF2 , SrCl2 , CdF2 , และ PbF2 ต่างก็มีรูปผลึกเหมือนกัน
ในกรณีของแข็งนั้นไม่มีรูปผลึกเรียกว่า ของแข็งอสัณฐาน เช่น พลาสติก แก้ว ยาง สารดังกล่าวนี้จะมีสมบัติเหมือนของแข็งทั่ว ๆ ไป คือมีความแข็งแกร่ง มีปริมาตรแน่นอน รูปร่างไม่ขึ้นกับภาชนะบรรจุ เพียงแต่ขาดลักษณะของการจัดเรียงอนุภาคตามรูปทรงเรขาคณิตเท่านั้น พวกของแข็งอสัณฐานจะมีสมบัติเกี่ยวกับดัชนีหักเห การนำไฟฟ้าและสมบัติอื่น ๆ เหมือนกันหมด ในทุกทิศทางและอาจจะมีจุดหลอมเหลวที่ไม่เด่นชัด คือจะค่อย ๆอ่อนตัวลงและกลายเป็นของเหลวที่ไหลได้ ซึ่งทำให้สังเกตจุดหลอมเหลวได้ยาก
การศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของผลึกนอกจากจะดูภายนอกแล้ว ยังมีการศึกษาโครงสร้างของการจัดเรียงอนุภาคในผลึกด้วย ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องมือเรียกว่า X-ray diffraction
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น